สีและอุปกรณ์ศิลปะ

หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558

"More Beauty" by Suriwan Sutham / September 22 - November 8, 2015




"More Beauty"    by Suriwan Sutham 

September 22 - November 8, 2015


DOB Hualamphong Gallery
Opening hours: 
10:30~19:00 hrs.(Closed on Monday)

             Address: 
DOB Building 2F. 318 Rama 4 Rd. Mahapreutharam, Bangrak, Bangkok 10500




The “More Beauty” exhibition presents oil on canvas paintings dealing with the overly obsession with beauty. A picture of a woman, who is addictive to the beautification of her face and body with ornaments, beauty products and even excessive plastic surgery, reflects the false social value of the imitated society. The value of women is measured by her physical appearance, such as white skin, big eyes, red lips, slim chin, slim waistline, long legs and long eyelashes, and possession of luxurious things. These shells have become what most people value more than the inner beauty that is truer.

นิทรรศการ “มอร์บิวตี้” นำเสนอผลงานจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบภายใต้แนวความคิดเกี่ยวกับความหมกมุ่น ลุ่มหลงในความสวยงามจนเกินพอดี ภาพของหญิงสาวผู้ยึดโยงต่อการตกแต่งใบหน้าและเรือนร่างด้วยเครื่องประดับ เครื่องประทินผิว และการแต่งเติมเสริมสวยที่มากล้นจนเกินไป สื่อแสดงให้เห็นถึงมายาคติตามกระแสนิยมในสังคมลอกเลียนแบบ คุณค่าของหญิงสาวที่วัดกันด้วยผิวขาว ตาโต ปากแดง คางเรียว เอวเล็ก ขายาว ขนตางอน ฯลฯ และการมีสินค้าฟุ่มเฟือยในครอบครองมากมาย จึงกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนให้ความสนใจมากกว่าความงดงามอันจริงแท้ภายในจิตใจ


 ที่มาของบทความ http://exhibition.contestwar.com/node/1113#sthash.p7k2bpld.dpuf





Diamond Kiss
Oil on Canvas
50 x 40 cm 2015




Beauty in the Dark
Oil on Canvas
120 x 100 cm 2015




Pearl Necklace
Oil on Canvas
120 x 100 cm 2015




Wow! Beautiful
Oil on Canvas
200 x 150 cm 2015




Sunglasses - Pearl
Oil on Canvas
80 x 60 cm 2015



Sunglasses - Heart
Oil on Canvas
80 x 60 cm 2015



 Fairy Pearl
Oil on Canvas
80 x 60 cm 2015




Big Pearl
Oil on Canvas
150 x 120 cm 2014
Collection of Silpakorn University




Beauty - Orchid
Watercolor on paper
55 x 75 cm 2014




Beauty - Peony
Watercolor on paper
75 x 55 cm 2014



Beauty - Blue Lips
Oil on Canvas
90 x 70 cm 2013



Sleeping Beauty
Oil on Canvas
80 x 60 cm 2013






Sunglasses - Big Pearl
Oil on Canvas
100 x 120 cm 2014



Candy
Oil on Canvas
80 x 60 cm 2014

Big Eye - Big Pearl
Oil on Canvas
100 x 80 cm 2014
Collection of Rajamangala University of Technology Thanyaburi

Diamond - Heart
Oil on Canvas
90 x 70 cm 2014

White Face
Oil on Canvas
100 x 80 cm 2013





Pearl Hoodie
Oil on Canvas
200 x 180 cm 2015



Dream 
Oil on Canvas
150 x 250 cm 2014







Sunglasses - Pearl Set
Acrylic on Canvas
40 x 30 cm 2015






**************************



ขอขอบคุณนิทรรศการศิลปะดีๆ :  "More Beauty" by Suriwan Sutham
                                                            DOB Hualamphong Gallery


วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ปรีชา ปั้นกล่ำ (ราตรีศรีมหานคร, 2552, สีอะคริลิคบนผ้าใบ, 200x300 ซม.)






ใจกลางเมืองศรีมหานคร แสงไฟยามรัตติกาลบรรเลงสีสันและส่องนำทาง ราวกับชีวิตชีวาที่ไม่ยอมหลับใหล ในเมืองศิวิไลซ์ของสยามประเทศ
     ภาพราตรีศรีมหานครแห่งนี้มีภูเขาทองเป็นจุดรวมสายตา ปรีชา ปั้นกล่ำ ใช้แสงสีเพื่อถ่ายทอดชีวิตชีวาของคนในเมืองหลวง ให้อารมณ์ความรู้สึกเคลื่อนไหวโลดแล่นบนถนนในมหานครที่เป็นศูนย์กลางแห่งวัฒธรรม เศรษฐกิจ
     ศิลปินถ่ายทอดสีของแสงอิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้า ให้บิดพลิ้วอย่างอิสระ เคลื่อนไหวตามอารมณ์ความรู้สึกและโสตประสาท ปัจจัยแสงที่ศิลปินใช้เป็นแรงกระตุ้นจินตนาการภายในให้ระอุออกมา ปรุงแต่งและถ่ายทอดเจตนารมณ์ตามความปรารถนา หากจ้องมองตามรอยจุดเส้นสี อณูเล็กๆก่อร่างสร้างเป็นมวลขนาดใหญ่ โดยไร้เส้นขีดกำกับโครงสร้างแม้แต่เส้นเดียว แต่สายตามนุษย์จะประมวลภาพจากเส้นสีและทีแปรงที่ศิลปินบรรจงแต้ม เรียกได้ว่าเป็นการวางสีที่ทำให้มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว มองใกล้เห็นเส้นสีวางเรียงรายตามจังหวะการเคลื่อนไหว หากเมื่อถอยห่างจากรูประยะไกลพอเหมาะ เส้นสีต่างๆที่เรียงรายจะผสมผสานกลมกลืนเกิดเป็นรูปทรงต่างๆ ที่ตาของผู้ดู (Optical Mixer) เห็นเป็นรถเมล์ สามล้อ ถนนหนทาง สถาปัตยกรรมรายล้อมสองข้างทาง
     ศิลปินนำความร่วมสมัยของวิถีชีวิตและกลวิธีการวาดภาพที่แปลกใหม่ของยุค สะท้อนความงามและสุนทรียภาพในยามค่ำคืน ด้วยสีสันแสงไฟที่เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำรงคงอยู่ของชีวิตผู้คนมากมาย ถ้าโลกนี้ไร้ซึ่งแสงที่ส่องสว่างแล้ว สิ่งมีชีวิตที่มีดวงตาคงมีชีวิตอยู่โดยความหวาดระแวงสิ่งรอบๆกาย

บทความโดย วนีย์วรรณ กิตติบดีสกุล

*********************


วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

จำรัส พรหมมินทร์





ศิลปิน   จำรัส พรหมมินทร์
ชื่อภาพ   ชนบท/1
ประเภท   สีน้ำมันบนผ้าใบ
ขนาดภาพ   76x121 ซม.



จำรัส พรหมมินทร์

เกิดที่ จังหวัดเชียงราย และเสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓
การศึกษา จบการศึกษาชั้นป. ๔ และศึกษาศิลปะด้วยตนเอง
รางวัลและเกียรติคุณ
พ.ศ. ๒๕๓๐ รางวัลชมเชยจากงานประกวดศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๖๐ พรรษา
พ.ศ. ๒๕๓๖ รางวัลนักอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น จากคณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย กรมศิลปากร


**************************


วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ธีระวัฒน์ คะนะมะ (ดินแดนแห่งความผาสุก, 2557, สีอะคริลิคบนผ้าใบ, 130 x 180 ซม.)






ดวงอาทิตย์กำเนิดแสงให้แลเห็นทุกสรรพสิ่งตามที่ทอดสายตามองลงบนดินแดนแห่งความผาสุก แสงร่ำไรเป็นประกายเล็ดลอดมาจากวิมานทิพย์ตั้งอยู่บนภูผาสูงเทียมเมฆ โคมไฟส่องสว่างตามแนวผา บรรยากาศอันเงียบสงบราวกับตกอยู่ในภวังค์ที่ไร้ซึ่งอาการทุกข์ทางกาย และปราศจากความกังวลทางใจ เจดีย์แห่งความศรัทธาส่องแสงปัญญาอันเฉียบแหลม ทุกสิ่งอันล้วนอยู่ในอากัปกิริยาสงบนิ่ง ไม่มีแม้มนุษย์หรือสัตว์เล็กใหญ่ใดๆอาศัยอยู่ มีเพียงต้นไม้ผลิดอกออกผลให้ร่มเงาในจิตใจ สายน้ำดำเนินการเคลื่อนไหลอย่างช้าๆเสมือนเกือบจะหยุดนิ่ง สายลมอันบริสุทธิ์เบาบางพัดผ่าน มีอยู่เพียงรู้สึกได้แต่มิกระทำให้เจ้าใบไม้ไหวเอนนัก พัดพากลิ่นหอมของดอกไม้ลอยฟุ้งอบอวนไปทั่วดินแดนแห่งนี้ ที่ที่ไม่มีอยู่ในความเป็นจริง พรั่งพรูออกมาจากจินตนาการความนึกคิดรวมเข้ากับความเพ้อฝัน มุ่งใฝ่หาสถานที่อันแสนสงบสุขและสวยงาม ธีระวัฒน์ คะนะมะ ศิลปินผู้เนรมิตดินแดนอันไกลโพ้น หากแม้จิตปล่อยวางล่องลอยเที่ยวในแดนฝัน ล้วนมีแต่ความสงบที่ทุกผู้คนเสาะแสวงหา สุขที่แท้จริงจะตราตรึงในใจคุณ
     ความสงบสุขจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกชนชั้นและทุกหนทุกแห่งปรารถนาครอบครอง สุขของแต่ละคนก็ล้วนแตกต่างกัน   สำหรับผู้คนในเมืองหลวง ลืมตาตื่นเช้ามาก็พบปะความวุ่นวายเสียแล้ว ภูเขาเพียงลูกมองให้ผ่อนคลายสายตาก็หาไม่มี หมอกจางๆก็แปรเปลี่ยนเป็นควันจากท่อไอเสีย แม้รวยล้นฟ้าก็มิอาจซื้อความสุขทางใจได้ ต่างจากวิถีชีวิตเรียบง่ายในชนบท มีธรรมมะช่วยกล่อมเกลาให้ดำรงตั้งอยู่บนสติทุกขณะ สำหรับความสุขของธีระวัฒน์ เพียงกลิ่นดอกไม้ในบริเวณบ้านที่ปลูกไว้ ส่งกลิ่นหอมเข้ามาแตะปลายจมูก ก็ก่อเกิดสุขขึ้นในใจเขาแล้ว ดินแดนแห่งนี้จึงไม่กล่าวหรือเท้าความหาความทุกข์ เพราะเป็นสิ่งที่ใครต่างก็ไม่อยากประสบพบเจอ ด้วยเหตุนี้เองจึงใช้สีเป็นตัวแทนความสุขสงบร่ายแปรงทั่วผืนผ้าใบ หยิบรูปทรงธรรมชาติบรรเทาทุกข์ที่แบกไว้ ให้กลายเป็นสุข และเมื่อความสุขในใจบันดาลขึ้น ความสงบทางใจก็คล้อยตามมาโดยมิทันตั้งตัว
     ท้ายที่สุดมนุษย์ก็โหยหาความสุขอันเป็นนิรันดร์ ปล่อยภาระที่แบกหามลงสักเพียงน้อยนิด ละทิ้งความปรารถนาในทรัพย์สินเงินทอง พาใจหยุดนิ่งเข้าสู่หนทางแห่งความสงบสุขและย่างก้าวเข้าไปเยือนดินแดนแห่งความผาสุกจะพบเจอซึ่งความสุขที่แท้จริง


บทความโดย วนีย์วรรณ กิตติบดีสกุล

*********************


วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

คนละทาง, 2523, สีฝุ่นบนกระดาษสา





คนละทาง เป็นการสะท้อนความแตกแยกของคนในสังคม จากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 วันแห่งมหาวิปโยคก่อเกิดการจลาจลขึ้นเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ เมื่อประชาชนชาวไทยทุกฝ่ายหันหลังให้พระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลืมศาสนาที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจแล้วไซร้ ความโกลาหลจึงพิบัติขึ้น เมื่อสังคมแบ่งพรรคแบ่งฝ่ายสร้างอคติต่อกัน เป็นรอยร้าวสร้างความแตกแยกจนลืมรากเง้าว่าเมืองไทยเป็นเมืองพุทธเมืองที่มีวัฒนธรรมสวยงามและมีวีชีวิตอันสงบสุข
     งานศิลป์อันทรงคุณค่ารำลึกเหตุการณ์สงครามประชาชนของ ปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติ สร้างความสะเทือนใจครั้งสำคัญจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของไทยหยั่งรากฝังลึกในความรู้สึก ผู้ทดลองค้นคว้าสิ่งใหม่อยู่สม่ำเสมอ  สร้างสรรค์งานศิลป์ในแนวทางศิลปะไทยร่วมสมัยสะท้อนเนื้อหาสาระและความสำคัญจากพุทธปรัชญา ภาพคนละทางเกิดจากกระบวนการสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคสีฝุ่นบนกระดาษสาเป็นเทคนิครุ่นแรกๆของนักเรียนศิลปะในยุคนั้น กระดาษสารูปทรงสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ปูพื้นหลังด้วยสีแดงชาติคล้ายดั่งเลือดจากสงครามที่หลั่งนองบนพื้นแผ่นดินไทย พระพุทธรูปเป็นสัญลักษณ์ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งประดิษฐานในใจกลางปากของอสรพิษร้าย เทคนิคการCollage เริ่มเข้ามาสู่วงการศิลปะของไทย จากการที่ปัญญาหยิบนำรูปภาพพระพุทธรูปมา Collage ลงในผลงานชิ้นนี้ได้อย่างลงตัว รูปทรงสัตว์บ้างมีหัวเสมือนนก บ้างมีตัวเสมือนงู และมีขาเสมือนไก่ เป็นรูปทรงที่ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์เหนือจริง เกิดจากการผสมผสานเค้าโครงสิ่งที่มีอยู่จริงบวกเข้ากับจินตนาการอันวิจิตรบรรจงของศิลปิน และยังทรงเสน่ห์ความเป็นเอกลักษณ์ไทยให้เห็น สัตว์เหล่านี้เปรียบเปรยดั่งสภาวะจริงของเหล่ามนุษย์ที่ไม่รู้รักสามัคคีนำตัวพุ่งทะยานไปคนละทิศคนละทางเกี่ยวพันกันพัลวันกันอลม่าน สร้างความวุ่นวายให้ประเทศชาติบ้านเมือง มีเพียงผีเสื้อผู้มีปีกอันบอบบางยังคงโบยบินอย่างอิสระ ผลักระยะทางสายตาด้วยท้องทะเลอันนิ่งสงบมองออกไปไกลสุดลูกหูลูกตา ก็ก่อเกิดความสุขขึ้นในจิตใจคุณ
     หากวันใดเกิดความทุกข์ร้อนขึ้นภายในจิตใจ ให้ศิลปะนั้นช่วยกล่อมเกลาบำบัดจิตใจ ระบายความทุกข์ลงผ่านผืนกระดาษ เพราะกำลังและความรุนแรงนั้นไม่อาจยุติปัญหาได้มีแต่จะจุดฉนวนก่อกองไฟให้ยิ่งลุกประทุขึ้นในจิตใจ จงระงับเหตุแห่งความรุนแรงด้วยการตั้งสติยับยั้งอารมณ์ให้ปัญญานำทาง สร้างความกลมเกลียว ความสามัคคีปรองดอง สิ่งนี้คือพลังสำคัญในการไปสู่หนทางแห่งความสำเร็จ 

บทความโดย วนีย์วรรณ กิตติบดีสกุล


ศิลปิน : ปัญญา วิจินธนสาร

วิทยาลัยเพาะช่าง
ศบ. มหาวิทยาลัยศิลปากร

******************




วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บุญหมั่น คำสะอาด




ศิลปิน   บุญหมั่น คำสะอาด 
ชื่อภาพ   ท่าขอนยางวังสามหมอ
ประเภท   ปากกาลูกลื่นบนผ้าใบ
ขนาดภาพ   305x176 ซม.



การบ่มเพาะเมล็ดพันธ์ุที่จะเติบโตเป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์ศิลปะไทยร่วมสมัยนั้น  เริ่มต้นเมื่อมีการเรียนการสอนศิลปะตามหลักวิชา (Acadamic Art) ในมหาวิทยาลัยศิลปากร  ในขณะที่โรงเรียนเพาะช่างเป็นแหล่งผลิตบุคคลากรทางด้านศิลปะมากมายมาก่อนหน้านั้น ศิลปินผู้มีชื่อเสียงระดับประเทศส่วนใหญ่เริ่มต้นจากสถาบันแห่งนี้  อาทิ  ชลูด นิ่มเสมอ ถวัลย์ ดัชนี   เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ช่วง มูลพินิจฯลฯ
     บุญหมั่น คำสะอาด เป็นอีกศิลปินไทยท่านหนึ่งจบการศึกษาศิลปะสถาบันศิลปะแห่งนี้ และกลับสู่บ้านเกิด จ.มหาสารคาม ในฐานะศิลปินและครูผู้สอนศิลปะ ในขณะที่ ถวัลย์ ดัชนี ซึ่งมีอายุเท่ากันตัดสินใจศึกษาต่อ ณ  มหาวิทยาศิลปากร ในฐานะลูกศิษย์รุ่นท้ายๆของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี 
 นับได้ว่าเวทีการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติในสมัยนั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อแนวความคิดในการสร้างสรรค์ศิลปะ  เป็นเวทีที่จะสามารถแสดงตัวตนให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับในวงกว้างได้ เขาได้ส่งผลงานเข้าสู่เวทีประกวดและได้ร่วมแสดงในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาตินับตั้งแต่ ครั้งที่ 32 เรื่อยมา กระทั่งใน ปี พ.ศ.2532  ในวัย 50 ปี เขาได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 35 
     เขามีความหลงใหลวัฒนธรรมอีสานเป็นอย่างมาก เงินเดือนที่ได้รับจากการเป็นข้าราชการครูส่วนใหญ่ถูกใช้ในการซื้อของเก่าที่เขาคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่องานด้านวัฒนธรรม อาทิ พระพุทธรูปไม้แกะสลัก ตะเกียงเจ้าพายุ  เครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักสาน อุปกรณ์ดักสัตว์ของชาวอีสาน กระโหลกและเขาควายทั้งแบบที่หาได้ทั่วๆไป กระทั่งเขาที่มีรูปทรงที่หายากยิ่ง กว่า 50 ปี กับสะสมของเหล่านี้  ใน ปี พศ. 2541 ก็เปิดตัวนำผล
งานทั้งหมดมาเรียบเรียงและจัดแสดงอย่างเป็นทางการ โดย ขึ้นป้ายหน้าบ้านว่า "พิพิธภัณฑ์บ้านเชียงเหียน" เป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนแห่งแรกของ  จ. มหาสารคาม 
     ผลงานของเขาส่วนใหญ่จะนำเรื่องราวความเชื่อของคนอีสานมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ ด้วยกลวิธีการวาดภาพที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว  ในรายละเอียดของภาพจะเห็นความระยิบระยับของลายเส้นต่างๆ ถูกออกแบบขึ้นมาใหม่โดยศิลปินตั้งชื่อลายเหล่านี้ว่า "ลายอีสาน"ซึ่งอาศัยรูปทรง รวงข้าว ใบไม้และพืชพันธ์ุท้องถิ่นเป็นแรงบันดาลใจสำคัญ     
     ภาพ "ท่าขอนยาง วังสามหมอ" เป็นผลงานจิตรกรรมภาพวาดลายเส้นบนผืนผ้าใบขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การสร้างสรรค์ผลงานของจิตรกรไทย ในภาพมีความซับซ้อนทางรูปทรงต่างๆมากมาย รูปร่างจระเข้ยักษ์   ซากของกรามจระเข้  พ่อ
แม่ลูก  สุภาพสตรีกำลังยืนเหน็บอาวุธไว้ข้างกาย  เชือกเส้นใหญ่กับลำไม้ที่ไขว้กันไปมา  เป็นต้น ทั้งหมดเสมือนการปะติดปะต่อเรื่องราวผสมกับจินตนาการส่วนตนของศิลปินและถูกอัดแน่นด้วยจังหวะการเคลื่อนไหวของเส้นที่อยู่ในทุกอณูของรูปภาพ
      ความหลงใหลในวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสานนี้เองทำให้ ศิลปินนำเอานิทานพื้นบ้านอีสานเรื่อง "วังสามหมอ" หรือ ตำนาน “อินถวา..นางฟ้าแห่งวังสามหมอ "มาเป็นแรงบันดาลใจสำคัญในการสร้างสรรค์ ผลงานชิ้นเอกนี้
เรื่องโดยสังเขป มีอยู่ว่า พระยาสุทัศน์และพระนางจันทราเจ้าเมืองท่าขอนยาง มีลูกสาวผู้เป็นที่รักและหวงแหนอย่างมาก ชื่อ อินถวา หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า นางคำบาง เธอมีความผูกพันกับจระเข้ซึ่งเป็นเพื่อนเล่นกันมาตั้งแต่วัยเยาว์ ชื่อ " ฉันท์ " แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า " บักเฮ้า " จระเข้ตนนี้มีสำนึกรู้รัก รู้ผิดชอบชั่วดี เนื่องจากถูกเลี้ยงดูมาเป็นอย่างดี เวลาจะลงอาบน้ำนางก็มักจะขี่หลังบักเฮ้าลงไปเล่นน้ำเป็นประจำ        
     จนกระทั่งย่างเข้าสู่วัยสาว ศิริโฉมของนางนั้นงดงามเป็นที่เลื่องลือไปไกลสมกับเป็นลูกสาวของเจ้าเมือง ฝ่ายบักเฮ้านั้นก็ตัวใหญ่โตมากขึ้นตามอายุเช่นกัน มีความยาววัดจากหัวถึงหางยาว 12 เมตร อ้าปากได้กว้าง 4 เมตร และแล้วเหตุการณ์ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น  ในขณะที่นางคำบางลงไปอาบน้ำโดยขี่หลังบักเฮ้าเป็นปกติเหมือนกับที่เคยขี่ทุกครั้ง จู่ๆก็มีจระเข้ป่าตัวหนึ่ง ชื่อว่า บักนนท์ มีความใหญ่โตพอๆ กับบักเฮ้า มันจึงรี่เข้ามา
หมายกินนางคำบางเป็นอาหาร จึงได้เกิดการต่อสู้กันระหว่างจระเข้ทั้งสอง บักเฮ้าปกป้องนางอย่างเต็มกำลัง แต่ด้วยมีความพะวักพะวงกลัวนางคำบางจะตกจากหลังแล้วถูกบักนนท์คาบไปกิน  จึงได้ถอยผละออกจากการต่อสู้ชั่วคราว พร้อมกับคาบนางคำบางไว้ในปาก จระเข้ป่าเมื่อเห็นคู่ต่อสู้ผละหนีจึงได้ที ตรงรี่เข้าไปไล่ทำร้ายเป็นการใหญ่ ด้วยสัญชาตญาณบักเฮ้าจึงได้หันกลับไปต่อสู้อีกครั้งและหลงกลืนนางคำบางลงไปในท้อง  ด้วยความกลัวโทษหนักจึงตัดสินใจหนีเพื่อรักษาชีวิตตนเอง ลัดเลาะตามลำน้ำชีแต่เพียงลำพัง  ในขณะที่เจ้าเมืองได้จัดกองกำลังตามล่าด้วยความแค้น หนีมาถึงวังน้ำขนาดใหญ่  เมื่อกองกำลังไล่ล่าตามรอยมาถึง หมอจระเข้ผู้ขมังเวชย์สองคนแรก คือ "หมอบุญ" และ"หมอพรหม" ลงไปจับก็ไม่มีผู้ใดโผล่ขึ้นมาจากน้ำเลยจึงเหลือแต่หมอคนที่ 3 เป็นจอมขมังเวชย์ผู้หญิง ชื่อว่า "ยาแม่คำหม่อน" ยาแม่ได้พิจารณารอบคอบแล้วเห็นว่า หมอ
บุญกับหมอพรหม นั้นถูกบักเฮ้ากินแน่แล้ว 
     ยาแม่จึงได้ใช้มนต์คาถาแหวกน้ำให้เป็นช่องลงไปตรวจดู พบถ้ำอยู่ทางด้านใต้ของวัง และเห็นบักเฮ้าอยู่ในลักษณะอ้าปากปิดปากถ้ำจึงคิดได้ว่าหมอบุญกับหมอพรหม คงหลงกลเดินเข้าไปในปากบักเฮ้าโดยนึกว่าเป็นปากถ้ำ และคงถูกบักเฮ้ากลืนกินในลักษณะนี้  เมื่อแน่ใจดังนั้นแล้วยาแม่จึงได้ขึ้นมาจากน้ำ แล้วให้ไพร่พลทั้งหลายออกไปหาตัดหวายเส้นขนาดใหญ่มาให้มากที่สุด  แล้วมัดเป็นเกลียวให้ได้ขนาดเส้นละเท่าแขนคน จำนวน 3 เส้น แต่ละเส้นให้ยาว 50 เมตร เป็นอย่างน้อย
      เมื่อได้หวายแล้วไพร่พลจึงได้ช่วยกันฝั้นเป็นเกลียวตามคำสั่งของยาแม่จนเสร็จเรียบร้อย  เสร็จแล้วนำหวายทั้ง 3 เส้น มา
ต่อกันผูกกึ่งกลางของเหล็กแหลม ที่แหลมเป็นฉมวก ทั้งสองด้าน มีเหล็กค้ำยันปากจระเข้อยู่ในตัว ป้องกันไม่ให้งับลงมาได้ ปลายเชือกหวายข้างหนึ่งนำไปผูกไว้กับโคนต้นประดู่ขนาดใหญ่ เมื่อทุกอย่างเป็นที่เรียบร้อยแล้วยาแม่จึงได้ร่ายมนต์คาถาแหวกน้ำลงไปอีกครั้ง บักเฮ้ายังเตรียมพร้อมอยู่ในลักษณะเดิม ยาแม่ได้ถือเหล็กแหลมทางตั้งเดินตรงเข้าไปในปากบักเฮ้า ฝ่ายบักเฮ้าเมื่อเห็นคนเดินเข้ามาในปากลึกพอประมาณ  จึงได้งับปากลงมาอย่างแรง เสียงดังก้องทั่ววังน้ำ  ด้วยความแรงของการงับ  ทำให้เหล็กแหลมเสียบประกบปากทั้งบนและล่างจนทะลุไม่สามารถถอนหรืองับลงมาได้อีก ยาแม่เห็นได้ทีจึงรีบออกจากปากแล้วขึ้นฝั่งพร้อมสั่งกำลังพลทั้งหมดให้ช่วยกันลากดึง   
ฝ่ายบักเฮ้าเมื่อถูกเหล็กประกบปากจนทะลุ ได้พยายามดิ้นรนจนสุดกำลังเพื่อให้ตัวเองเป็นอิสรภาพ  แรงดิ้นทำให้ปากถ้ำพังทลาย เกิดน้ำปั่นป่วนทั้งวังกระทั่งหนึ่งวันหนึ่งคืนเต็มๆ บักเฮ้ารู้สึกอ่อนระโหยโรยแรง สุดท้ายเมื่อกำลังพลสามารถนำจระเข้ยักษ์ขึ้นจากน้ำได้แล้ว  บักเฮ้ามีอาการปลงตก น้ำตาไหลตลอดเวลา พร้อมทั้งคิดว่า ถ้าหากคนเหล่านี้รู้สึกสักนิดว่า ที่เรากลืนนางคำบางลงไปในท้องนั้น เราไม่ได้มีเจตนาแต่เราทำไปด้วยความกลัวว่านางจะได้รับอันตรายจาการกระทำของบักนนท์ต่างหาก ถึงอย่างไรเราก็คงจะหนีความตายไปไม่พ้น ยอมให้เขาฆ่าเสียดีกว่า คิดได้ดังนั้นจึงอยู่ในลักษณะนิ่งเฉย บรรดาไพร่พลทั้งหลายจึงพากันเข้ารุมฆ่าบักเฮ้าเป็นการใหญ่ ได้ฆ้อน 
ขวาน เหล็กแหลม และอาวุธอีกมากมาย ตีแทง ฟัน ตั้งแต่หัวตลอดหาง บักเฮ้าได้รับความเจ็บปวดทมารมากและตายในที่สุด
     เจ้าเมืองสั่งให้ไพร่พลผ่าท้องจระเข้  เมื่อผ่าท้องออกมาก็ได้พบศพหมอจระเข้ 2 คน รวมทั้งศพนางอินถวา ซึ่งยังมีเป็นบางส่วนหลงเหลืออยู่ เจ้าเมืองผู้เป็นบิดามีความเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ได้สั่งให้จัดการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้หมอจระเข้ 2 คน พร้อมประกาศชื่อวังนำ้ใหญ่แห่งนี้ว่า “วังสามหมอ” มาตั้งแต่บัดนั้น และวังสามหมอแห่งนั้น ก็กลายมาเป็นอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ในปัจจุบัน  ส่วนศพของลูกสาวนั้น เจ้าเมืองผู้เป็นบิดาได้ให้นำไปฝังไว้ที่ข้างคุ้มเจ้าเมือง และต่อมาไม่นานนักสถานที่ฝังศพของลูกสาวเจ้าเมืองก็มีต้นไม้ต้นหนึ่ง มีดอกสีขาว สวยงามมากเกิดขึ้นมา เจ้าเมืองคงคิดถึงลูกสาวมาก จึงตั้ง
ชื่อต้นไม้ต้นนั้นว่า “อินถวา” มาตั้งแต่บัดนั้น ต่อมา “ต้นอินถวา” ซึ่งมีดอกขาว ได้มีการปลูกกันแพร่หลายในภาคอีสาน และต่อมาได้แพร่พันธุ์ไปยังภาคกลางและภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย และต้นอินถวานี้ในตำราพืช เรียกว่า “ต้นพุทธซ้อน” เป็นไม้ดอกที่ปลูกง่ายและปลูกได้ทุกเขตของดินฟ้าอากาศ และต้นไม้ชนิดนี้ มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษเรียกว่าต้น “คาดิเนีย” อีกด้วย  
     ในช่วงท้ายของชีวิตของศิลปินผู้มีคุณูปการต่อวงการศิลปะในถิ่นอีสานท่านนี้    ท่ามกลางสายตาความสงสัยและคำถามมากมายจากคนส่วนใหญ่ในถิ่นทุรกันดาร  รอยสักมากมายในเกือบทุกส่วนของร่างกายของเขาก็ยังเป็นปริศนาให้ถกเถียงกันไม่รู้จบระหว่างด้านสุนทรียภาพและด้านความเชื่อทางไสยศาสตร์    ถึงแม้สุดท้ายพิษของโรคร้ายจะทำให้ดูเหมือนคน
เสียสติก็ตาม แต่ความระลึกถึง  ถวัลย์ ดัชนี  ศิลปินผู้เป็นบุคคลที่เคารพรัก  ชื่อนี้สลักป็นรอยสักบนกระหม่อมของ บุญหมั่น คำสะอาด ก่อนที่เขาจะลาโลกไปด้วยวัย 60 ปี กับอีก 5 เดือน ใน ปี พ.ศ. 2544

บทความโดย สุริยา นามวงษ์


************************

ขอบคุณที่มาดีๆจาก : http://www.mocabangkok.com/art_the_collection.php#

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ประเทือง เอมเจริญ (ศิลปินแห่งชาติ)




ศิลปิน   ประเทือง เอมเจริญ (ศิลปินแห่งชาติ)
ชื่อภาพ   พระอาทิตย์, 2516
ประเภท   สีน้ำมันบนผ้าใบ
ขนาดภาพ   116x134.5 ซม.



ศิลปิน   ประเทือง เอมเจริญ (ศิลปินแห่งชาติ) 
ชื่อภาพ   จักรวาล, 2516
ประเภท   สีน้ำมันบนผ้าใบ
ขนาดภาพ   133x167 ซม.
  



ประเทือง เอมเจริญ (ศิลปินแห่งชาติ)


เกิด วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2478 (ธนบุรี)
ใช้ชีวิตอยู่ที่สวนฝั่งธนบุรี ชีวิตและสภาพแวดล้อมมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายและสงบสุข ชอบว่ายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ความสดชื่นของสายน้ำและพืชพรรณแมกไม้ หล่อหลอมให้ประเทืองเห็นคุณค่าของสรรพสิ่งในธรรมชาติ และการดำรงชีวิตอย่างสมถะ
เมื่อเรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 อายุได้ 14 ปี เขาออกจากโรงเรียนและรับจ้างทำงานหาเลี้ยงชีพทุกประเภท อาทิเช่น เป็นลูกมือช่างตีเหล็ก ลูกจ้างร้านกาแฟ และช่วยมารดาประกอบอาชีพขายขนมและผลไม้ เมื่ออายุ 16 ปี เข้าฝึกทำงาน เป็นลูกมือช่างเขียนภาพโปสเตอร์โฆษณากับพี่ชาย จนมีทักษะการเขียนภาพสีน้ำมัน และเทคนิคต่างๆ
ด้วยความเบื่อหน่ายกับความซ้ำซากจำเจของงานโฆษณา จึงได้ลาออกจากบริษัทโฆษณา ไปประกอบอาชีพเป็นช่างเขียนภาพโฆษณา ตามโรงภาพยนต์ในกรุงเทพฯ ซึ่งนิยมวาดภาพโฆษณาขนาดใหญ่ติดตั้งบริเวณหน้าโรงภาพยนต์มีรายได้ดี เพราะมีฝีมือการวาดภาพโปสเตอร์เป็นที่ยอมรับของวงการ
ท่านไม่ได้สำเร็จการศึกษาศิลปะจากสถาบันการศึกษา เรียนรู้การทำงานศิลปะด้วยตนเอง ทั้งจากการอ่าน ดู พูดคุย กับผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ทางศิลปะทุกแขนง และได้ทุ่มเท เรียนรู้การเขียนภาพจากประสบการณ์ตรงอยู่เป็นเวลา 3 ปี อย่างมุ่งมั่นและอดทน ศึกษาค้นคว้างานด้านศิลปะตลอดเวลา
ศึกษาปรัชญาชีวิตรวมทั้งศิลปะของอินเดีย จีน และศึกษาธรรมชาติ โดยเฉพาะดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของพลังแสงสว่าง จนเกิดมุมมองในการสร้างสรรค์งานศิลปะที่เป็นรูปแบบเฉพาะตน เป็นผู้มองโลกในแง่ดี เชื่อมั่นในคุณงามความดี

**********************

ขอบคุณที่มาดีๆจาก : http://www.mocabangkok.com/art_the_collection.php#